ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เดินหน้ายกระดับภาคการเกษตรแปรรูป สู่แนวทาง “อุตสาหกรรมสีเขียว” ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดกิจกรรมการพัฒนาธุรกิจเกษตรแปรรูปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry: GI) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการภาคเกษตรมีความตื่นตัวและพร้อมเข้าสู่แนวทางอุตสาหกรรมสีเขียว กับแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม ลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบที่มีอยู่ ผ่านกระบวนการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน และการเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถยื่นขอรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่คำว่า “Green Product” และ “Green Process” กำลังกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของโลกอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21
ภาพรวมความสำเร็จ “กิจกรรมการพัฒนาธุรกิจเกษตรแปรรูปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จัดโดย กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีสถานประกอบการที่ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 25 กิจการ จากการดำเนินกิจกรรมข้างต้นมีกิจการที่มีความโด่นเด่น และมีแนวโน้มด้านการพัฒนาผลิตภาพที่ประสบความสำเร็จ ได้รับคัดเลือกเป็น (Success Case) จำนวน 3 กิจการ ได้แก่
1. บริษัท บุญฟู้ดส์ จำกัด
2. บริษัท ฮอป เพาเวอร์ เพิร์ล จำกัด
3. บริษัท อิมเม็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
การดำเนินงาน “กิจกรรมการพัฒนาธุรกิจเกษตรแปรรูปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI)”ภายใต้โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการเตรียมความพร้อม ดังนี้
– ยื่นขอรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 จำนวน 6 กิจการ
– ยื่นขอรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 จำนวน 19 กิจการ
– เตรียมความพร้อมยกระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 จำนวน 6 กิจการ


สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ได้รับการพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร ทำให้เกิดภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปในประเด็น “สีเขียว” ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตซึ่งกำลังจะเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงได้รับการพัฒนาผลิตภาพ เช่น การลดของเสีย ลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ และการแปรรูปวัตถุดิบเหลือใช้หรือเศษจากกระบวนการผลิตนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และคาดว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวม 189 ล้านบาท และกิจการที่เข้าร่วมกิจกรรมมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
#ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้
#กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม




